สร้างรายได้.....จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
การอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานวิจัย (Licensing) เป็นอีกรูปบบหนึ่งที่ทำให้ผลงานวิจัย ซึ่งก็คือประเภทหนึ่งถูกนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Intellectual Commercialization)
การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) ในเชิงพาณิชย์ที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างนักวิจัยกับภาคเอกชนโดยไม่ผ่านมหาวิทยาลัย จึงทำให้การดำเนินการในด้านดังกล่าวไม่มีระบบที่ชัดเจน ไม่มีการทำสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี ไม่มีการทำสัญญาการปกปิดข้อมูล รวมไปถึงเทคโนโลยบางอย่างไม่ได้รับการจดคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากนักวิจัยมีแนวความคิดว่าหน้าที่ของตนคือ การถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาและทำวิจัยเพื่อต่อยอดหรือพัฒนาองค์ความรู้
ดังนั้น ควรตระหนักในการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จึงยังไม่มีการให้ความสำคัญเท่าใด กอปรกับแนวความคิดที่ว่า "การวิจัยเพื่อการพาณิชย์เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักจริยธรรมการวิจัย" จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์นั้นไม่มากเท่าที่ควร
ปัจจุบันแนวความคิดดังกล่าวดูจะเปลี่ยนแปลงเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ด้วยเพราะยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยใช้งานวิจัยเป็นฐานในการสร้างความเจริญได้ผลักดันให้มีการนำองค์ความรู้หรือผลงานวิจัยมาใช้เป็นฐาน ในการสร้างเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น (Knowledge-based economy) นอกเหนือจากการรับจ้างวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของ ภาคอุตสาหกรรมและการทำวิจัยร่วมระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อต่อยอดแล้วการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ในงานวิจัย (Licensing) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผลงานวิจัยซึ่งก็คือทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Intellectual Commercialization) ได้ ซึ่งมีกระบวนการดังนี้
- ตรวจสอบสถานะและประเมินศักยภาพของงานวิจัยในด้านต่างๆ เช่น ความทันสมัย
ของเทคโนโลยีที่ใช้ประดิษฐ์ ความสามารถในการทำตลาด เป็นต้น
- ประเมินมูลค่าเทคโนโลยีหรืองานวิจัย (Evaluation)
- สรรหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิหรือเทคโนโลยี (Licensee)
- เจรจา (Negotiation) ซึ่งมีหัวข้อการเจรจาในเรื่องระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
ขอบเขตในการอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือเทคโนโลยี การจ่ายค่าตอบแทนหรือค่ารอยัลตี้
(Royalty)ให้กับผู้ให้สิทธิ เป็นต้น
- ทำสัญญาระหว่างผู้ให้สิทธิ (มหาวิทยาลัย) และผู้ขอใช้สิทธิ
- การดูแลรักษาสิทธิ์ของผู้ให้สิทธิตลอดระยะเวลาที่สัญญามีผลบังคับใช้
โดยทั่วไปแล้วกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่ภาคเอกชนสนใจขอใช้สิทธิในองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีของนักวิจัย หรือกรณีที่นักวิจัยประสงค์จะนำงานวิจัยของตัวเองไปจำหน่ายให้กับบริษัท หรือประสงค์จะตั้งบริษัทเพื่อจำหน่ายเทคโนโลยี ที่ตัวเองประดิษฐ์ขึ้น ดังนั้น จึงต้องเกิดกระบวนการขออนุญาตใช้สิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิ ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและเพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้วิจัยและมหาวิทยาลัยเอง รายได้ที่เกิดขึ้นจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยีหรือสิ่งประดิษฐืจะถูกจัดสรรให้แก่นักวิจัยและมหาวิทยาลัยในสัดส่วนที่แต่ละแห่งกำหนดขึ้น กระบวนการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อนักวิจัยทำการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว เช่น การจดสิทธิบัตร-อนุสิทธิบัตร การจดแจ้งลิขสิทธิ์ การจดแจ้งเพื่อคุ้มครองความลับทางการค้าในส่วนของฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการนำข้อมูลการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรของนักวิจัยที่มาใช้บริการจดคุ้มครองมาทำการประเมินศักยภาพเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่เชิงพาณิชย์บ้างแล้ว ซึ่งจะมีการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งประดิษ์ต่อภาคเอกชนผ่านทางช่องทางต่างๆ เพื่อสรรหาผู้สนใจที่จะนำมาสู่การนำงานงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ตามรูปแบบที่เสนอมาข้างต้น
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรืองานวิจัยของท่านมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และประสงค์ที่จะหาผู้ขออนุญาตใช้สิทธิ โปรดติดต่อ :
ฝ่ายนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทรศัพท์ 0-4332-02733 มือถือ 08-6451-4455
ภายใน 42132-34,42763-64
> คุณจินดาพร พลสูงเนิน Email: tlo@kku.ac.th
> คุณพรรณรวี กบิลพัฒน์ Email: panravee@kku.ac.th
> คุณพิชชานันท์ พงษ์พรรณนากูล Email: pitcpo@kku.ac.th